วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฮาร์ดดิสก์ แบบ SSD มีข้อดีข้อเสียกว่า HDD ธรรมดาอย่างไร

มาถึงยุคนี้ โน๊ตบุ๊คที่ออกใหม่ๆ มาส่วนใหญ่ก็จะใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD กันเยอะครับ บางคนอาจยังไม่ทราบว่าเจ้า SSD นี่คืออะไรนะครับ 

SSD ย่อมาจาก Solid State Drive ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์การเก็บข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่เหมือนฮาร์ดดิสก์

SSD เป็น Data Storage ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยที่ SSD เป็นตัวเก็บข้อมูลประเภท Flash Memory เหมือนกับที่เราใช้ใน Flash Drive และในโทรศัพท์มือถือทั่วไป สามารถทำงานได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปหลายเท่าตัว กินไฟน้อยกว่า ไม่ร้อน ประหยัดเนื้อที่ ไม่มีส่วนเคลื่อนที่ทำให้เสียยากกว่ามาก

ซึ่งไอ้เจ้า SSD เนี่ย เป็นการเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวครับ ต่างกับ HDD ตรงที่ HDD เวลาเก็บข้อมูลมันก็ต้องมีการเคลื่อนไหวโดยการหมุนข้างในครับ 

วีดีโอแสดงความแตกต่างระหว่าง SSD VS HDD

สรุปข้อดีของตัว SSD นะครับ
- ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลเร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก
- เสียงเงียบ แตกต่างจากตัวเก่า


ข้อเสีย
- หากพัง แทบจะไม่มีสิทธิ์กู้ข้อมูลคืนได้เลยครับ
- แพง

แต่ตามที่กล่าวข้างต้นครับ ว่ายุคนี้ ผู้ผลิตหันมาใช้ฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลแบบ SSD กันเยอะแล้วครับ และมีแนวโน้มว่าราคามันจะถูกลงไปเรื่อยๆ ครับ เรามาหันไปใช้ SSD กันเถอะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเลือกซื้อโน๊ตบุ๊ค สำหรับผู้ที่ใช้งานเขียนโปรแกรม

การเลือกซื้อโน๊ตบุ๊ค สำหรับผู้ที่ใช้งานเขียนโปรแกรม 
หรือที่เราเรียกว่า programmer นั่นเอง ซึ่งบทความนี้จะเน้น การซื้อเอาไว้ใช้เรียนเขียนโปรแกรมนะครับ ใครๆ ที่ไม่เคยเรียนโปรแกรมเมอร์ หรือเป็นโปรแกรมเมอร์ นั้น อาจะจะมองว่า การหาโน๊ตบุ๊คเอาไว้ทำงานด้าน โปรแกรมมิ่งนั้น อาจจะต้องใช้เสปกที่สูงมากๆ เพื่อรองรับการทำงาน แต่เอาเข้าจริงไม่ถึงขนาดนั้นเลยครับ เพราะว่าเสปกไหนๆ ก็แทบจะเขียนได้ทั้งหมด ทั้งนี้ต้องแยกก่อนนะครับ การเขียนโปรแกรมไม่ใช่งานกราฟฟิก หรืองาน 3D ครับ จึงไม่ต้องใช้เสปกโน๊ตบุ๊คที่สูงอะไรมากมายนัก



"บทความนี้คุณพ่อ คุณแม่ที่เข้ามาอ่าน อาจจะรู้ไว้บ้างก็ดีนะครับ มีหลายกรณีที่ เด็กที่เพิ่งเป็น นักศึกษา เข้าเรียนมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คอม เพื่อเรียนทางด้านโปรแกรมเมอร์ แล้วร้องขอซื้อคอมแพงๆ เพียงเพื่อมาเขียนโปรแกรม หรือใช้เรียน ความจรึงแล้วนั้นส่วนใหญ่ขอไปเล่นเกมครับ"



หากบทความนี้จะมีข้อแนะนำก็มีดังนี้ครับ

  • เน้น ฮาร์ดดิสก์สูงๆ หน่อยก็ดีครับ เอาไว้เก็บงานต่างๆ และอาจจะต้องใช้พื้นที่เพื่อใส่พวก database ต่างๆ
  • แรมเยอะหน่อยก็ดี เพราะระหว่างเขียนโปรแกรมนั้น เราอาจจะเปิดหาข้อมูลตามเพจต่างๆ หรืออาจจะเปิดทีพร้อมกันหลายๆ โปรแกรม ทำให้เครื่องอาจหน่วง หรือหนักเข้าอาจจะ not responding เอาดื้อๆ ได้ (ใครทำแล้วลืมเซฟงานนั้น มีงานเข้าครับ)
  • สนนราคาส่วนใหญ่ ของโน๊ตบุ๊คที่เอาไว้ใช้เขียนโปรแกรมนั้น ถ้าให้ชัวร์เอาสัก หมื่นบาทขึ้นไปก็เขียนได้แทบรอบจักรวาลแล้วครับ
  • ไม่จำเป็นต้องมีการ์จจอแยก เพราะว่า programmer แทบจะยุ่งกับงาน text ล้วนๆ
  • อย่าซื้อ Mac หรือสินค้าตระกูล Mac เพื่อมาเขียนโปรแกรมเด็ดขาด โปรแกรมบางอย่างส่วนใหญ่นั้นที่ใช้เขียนกัน รองรับ window เท่านั้นครับ ซื้อ mac มาก็ต้องลง window อยู่ดี 
  • หลีกเลี่ยงพวก hybrid notebook เช่นพวก surface หรือแยกจอได้ต่างๆ เพราะคีย์บอร์ดมันเล็กไม่เหมาะกับใช้งานพวก text เป็นอย่างยิ่ง จะหาว่าไม่เตือน
  • แนะนำ Lenovo Thinkpad รุ่น T นำหน้า มันอึด และถึกทนมาก เหยียบยังไม่แตก
สุดท้ายนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋าล่ะครับ แต่หากใครอยากทำงานด้านกราฟฟิกด้วย ก็คงต้องเพิ่มเรื่องการ์ดจอเข้าไป หรือหากอยากเล่นเกมหนักๆ ได้ด้วยนั้น ก็คงต้องไม่ใช่แบบที่แนะนำไปครับผม